วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

งานบริการทดสอบวัสดุ



- การสำรวจชั้นดินโดยวิธีเจาะล้าง (Wash Boring)
- งานทดสอบอัดแท่งตัวอย่างคอนกรีต
- งานทดสอบดิน
- งานทดสอบความแข็งแรงของคอนกรีตในสนาม
1.  เจาะดิน-ทดสอบชั้นดิน
2.  ความหนาแน่นงานชั้นทาง
3.  กำลังอัดคอนกรีต

1.  เจาะดิน SOIL BORING TEST
        1.1     วิธีการเจาะดินแบบฉีดล้าง (Wash Boring)

         เป็นการเจาะดิน โดยการฉีดอัดน้ำผ่านก้านเจาะลงไปที่ก้นหลุมเจาะด้วยปั๊มน้ำแรงสูงและเป่า ออกมาที่หัวเจาะ ในขณะที่หัวเจาะ(Chopping Bit) กระแทกบดดินให้แตกย่อยออกเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้น้ำ สามารถพัดพาเอาดินชิ้นเล็กๆ ขึ้นมาตามผนังหลุมเจาะ ดินชิ้นเล็ก ๆ เหล่านั้นจะไหลไปลงบ่อตกตะกอนข้างหลุมเจาะ เพื่อเป็นการกรองดินเม็ดหยาบ( Coarse Grain Soil ) และน้ำจะถูกสูบกลับมาใช้ใหม่ ในการเจาะสำรวจชั้นดินวิธีนี้จำเป็นจะต้องมีการป้องกันผนังหลุมเจาะพังด้วยการ ตอก Casing ลงไปในชั้นดินเหนียวอ่อน และในกรณีที่เจาะผ่านชั้นทราย ก็จำเป็นจะต้องอาศัย Bentonite ช่วยป้องกันการพังทลายของหลุม
ข้อดีของการเจาะดินด้วยวิธีนี้ คือ เป็นวิธีการเจาะที่ทำได้ง่าย อุปกรณ์ที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน

          สะดวกต่อการขนย้าย สามารถถอดชิ้นส่วนและประกอบกลับได้ใหม่ในเวลาไม่นานนัก และขณะเจาะ สำรวจ จะสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของชั้นดินได้จากความแตกต่างของเศษหิน ทราย และสีของน้ำที่ล้นปากหลุมขึ้นมา พร้อมกับสังเกตความรู้สึกถึงการจับยึดของชั้นดินก้นหลุมด้วยสัมผัสจากการกระทุ้งดินก้นหลุมแต่ละครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของชั้นดิน ส่วนการสังเกตเศษหิน ทรายและสีของน้ำที่ล้นขึ้นมา นั้น ช่วยในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินได้อย่างคร่าวๆเท่านั้น โดยเฉพาะกรณีที่ใช้น้ำโคลนผสม Bentonite จะทำให้การจำแนกชั้นดินโดยดูจากสีของน้ำทำได้ยากขึ้น
ข้อจำกัดของการเจาะดินด้วยวิธีนี้ คือ ไม่สามารถเจาะผ่านชั้นกรวดใหญ่ลูกรังแข็งหินผุหรือชั้นดินดาน

1.2      วิธีการเจาะสำรวจดินแบบเจาะปั่น (Rotary Drilling)
             เป็นการเจาะดินโดยใช้เครื่องยนต์หมุนหัวเจาะปั่นด้วยความเร็วรอบที่กำหนด ที่หัวเจาะปั่นจะมีรู สำหรับฉีดปล่อยน้ำโคลนออกมาโดยสูบจากถังน้ำโคลน และคล้ายคลึงกับการเจาะล้าง แต่จะไม่ให้ความรู้สึก ซึ่งสัมผัสได้โดยตรงด้วยมือจากก้านเจาะดังเช่นวิธีเจาะล้าง ทำให้การคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของชั้นดิน ในระหว่างเจาะต้องสังเกตจากความแตกต่างของแรงกดไฮดรอลิก และอัตราการไหลลงของก้านเจาะ เป็นอย่างมาก การเจาะด้วยวิธีนี้ทำโดยใช้แรงดันจากปั๊มน้ำสามารถฉีดไล่ดินในขณะที่หมุนเจาะ และเมื่อพบดินเปลี่ยนชั้นหรือถึงระดับความลึกที่กำหนดหัวเจาะจะถูกนำขึ้นมาจากหลุมและเปลี่ยนเป็นหัวเก็บตัวอย่างแทน เพื่อให้สามารถเก็บตัวอย่างที่คงสภาพเดิมไว้ได้มากที่สุด ในปัจจุบันระบบการเจาะปั่นนี้เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการเจาะที่รบกวนชั้นดินน้อยที่สุดวิธีหนึ่ง
ข้อดีของการเจาะดินด้วยวิธีนี้ คือ การเจาะด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับชั้นดินและหินทุกชนิด โดยเฉพาะ
ในดินแข็ง ลูกรัง ทรายปนกรวด และหินผุ เพราะสามารถถอดเปลี่ยนหัวเจาะให้เหมาะกับสภาพชั้นดินได้ง่าย และสามารถเปลี่ยนเป็นหัวเจาะเพชรได้ทันทีที่ต้องการ กรณีที่เจอชั้นหิน


2.  ความหนาแน่นงานชั้นทาง
2.1  ทดสอบความหนาแน่นของดินในสนาม Field Density Test
 -      บริการทดสอบความหนาแน่นของดินในสนาม IELD  DENSITY TEST
         การก่อสร้างถนน สนามบิน เขื่อนดิน พื้นโรงงาน จะต้องบดอัดด้วยเครื่องมือต่างๆ ตามชนิดและ
ประเภทของวัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง หลังจากการบดอัดได้ที่แล้วก็จะต้องมีการตรวจสอบผลของการบดอัดนั้นว่า มีความหนาแน่นสามารถรับน้ำหนักได้ตามข้อกำหนดที่ได้ออกแบบคำนวณไว้หรือไม่ เช่น งานชั้นรองพื้นทาง (Subbase) ชั้นพื้นทาง (Base) จะต้องบดอัดให้ได้ 100% Modified AASHTO งานชั้นดินเดิม และดินถมจะต้องบดอัดให้ได้ 95 % Modified AASHTO การบดอัดนี้จะต้องมีการควบคุมความชื้นในดินและพลังงานที่จะใช้ในการบดอัดให้เพียงพอและประหยัด ถ้าจำนวนเที่ยวที่บดอัดมาเกินไป ก็จะสิ้นเปลืองทั้งค่าแรงงานและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ถ้าบดอัดน้อยไปก็จะไม่ได้ความแน่นที่ต้องการจะต้องกลับมาทำงานซ้ำอีก
การหาความหนาแน่นของดิน คือ การหาน้ำหนักของดินในบริเวณที่บดอัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
หารด้วยปริมาตรของหลุมที่ขุดดินออกมา และการที่จะหาปริมาตรของหลุมที่กล่าวนี้ จำเป็นจะต้องวัดหรือใช้วัสดุที่รู้ความหนาแน่น (Density) และความถ่วงจำเพาะแน่นอนแล้วไปแทนที่ในหลุมที่ขุดดินขึ้นมา ซึ่งการทดสอบดังกล่าวอาจกระทำได้โดยวิธีใช้ทรายมาตรฐาน(Sand Cone Method) ช่วยในการทดสอบหรือใช้น้ำ(Balloon Density  Method) ทั้งสองวิธีนี้ต่างก็อาศัยหลักอันเดียวกัน คือ ขั้นแรกต้องขุดดินบริเวณที่ต้องการจะทดสอบให้เป็นหลุมเล็ก และนำดินที่ขุดออกมาทั้งหมดไปชั่งหาน้ำหนัก หาเปอร์เซ็นต์ความชื้น และปริมาตรของหลุมที่ขุดดินออกมา
            การทดลอง Field Density Test มีวิธีการทดลองอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
Sand Cone Method วิธีนี้ใช้ทรายช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ทรายที่ใช้คือ Ottawa
Sand ซึ่งมีเม็ดของทรายกลมและมีขนาดเท่าๆกัน (Uniform) เพื่อที่จะใช้ผลของความหนาแน่นเท่ากันโดยตลอด และไม่เกิดการแยกตัวของเม็ดหยาบและเม็ดเล็ก (Segregation) ขณะทำการทดลอง
Rubber Balloon Method วิธีนี้ใช้น้ำช่วยในการหาปริมาตรของหลุม ซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่า
วิธีการใช้ทราย ในการทดลองอาศัยใช้ลมจากลูกบอลบีบอัดลงไปตรงส่วนบนของผิวน้ำในหลอดแก้วของเครื่องมือทำให้น้ำในหลอดแก้วถูกดันออกไปในลูกโป่งยาง และไหลลงไปในหลุมทดลองที่ขุดเอาไว้ใต้ Base Plate ลมที่อัดลงไปนี้มีส่วนช่วยให้น้ำในลูกโป่งยางอัดแนบสนิทกับหลุม ทำให้ได้ค่าปริมาตรของหลุมที่ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น

3.  ทดสอบกำลังอัดคอนกรีต Compressive Strength test
ในการก่อสร้างปัจจุบันจำเป็นต้องมีการทดสอบคอนกรีต เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของงานก่อสร้าง ซึ่งใน
การทดสอบนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การทดสอบแบบทำลายและการทดสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งการทดสอบแบบทำลายจะทำความเสีย หายต่อคอนกรีตโดยในงานก่อสร้างจริงนั้น ไม่สามารถทำการทดสอบแบบทำลาย  เพื่อหากำลังของ คอนกรีตได้  ดังนั้นจึงมีการทดสอบแบบไม่ทำลายเพื่อหากำลังของคอนกรีต  ได้แก่ วิธีการทดสอบด้วยคลื่นเสียงอุลตร้าโซนิค(Ultrasonic Pulse Velocity) และวิธีการทดสอบแบบนับจำนวนครั้งการ สะท้อน(Schmidt Hammer) ดังนั้นภาคนิพนธ์นี้จึงได้ทำการทดสอบตัวอย่างคอนกรีตด้วยวิธีดังกล่าวเพื่อให้ทราบ ถึงขั้นตอนและวิธีการทดสอบรวมถึงวิเคราะห์เปรียบเทียบผลที่ได้รับจากการทดสอบแบบไม่ทำลายทั้ง 2 แบบ กับการ ทดสอบแบบทำลาย

     ในการทดสอบครั้งนี้จะทำการทดสอบวิธีนับจำนวนครั้งการสะท้อน วิธีการใช้คลื่นเสียงอุลตร้าโซนิคและการ
ทดสอบด้วยเครื่องทดสอบ กำลังอัดตาม ลำดับ โดยทดสอบกับแท่งตัวอย่างคอนกรีต ทาง Cylender ขนาด Ø 15 x 30 cm. ซึ่งทำการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตให้ ได้กำลังที่ 28 วัน เท่ากับ 210, 240, 270 และ 300 กก./ซม.2 โดยทำ การทดลองแท่งตัวอย่างที่อายุ 3, 7, 14, 21 และ 28 วัน ด้วยแท่งทดสอบจำนวน 3 ลูก ต่อการทดสอบหนึ่งค่าและหนึ่งช่วง อายุทดสอบ โดยในการทดสอบแบบนับจำนวนครั้งการสะท้อนจะกดในมุม 90 ํ ในแนวตั้งและแนวนอนของแท่งตัวอย่าง และนำค่าไปหากำลัง จากนั้นทำการทดสอบด้วยคลื่นเสียงอุลตร้าโซนิคโดยการวัดระยะความยาวแท่งตัวอย่างด้วย เวอร์เนียคาลิปเปอร์ให้ได้ค่าที่แน่นอน แล้วจึงวัดระยะเวลาคลื่นเสียงผ่านแท่งตัวอย่างและนำค่าทั้งสองค่าไปหาเป็นความเร็ว คลื่น เมื่อได้ผลความเร็วคลื่นแล้วให้นำไปเปรียบเทียบกับกราฟหากำลังคอนกรีตโดยทำการทดสอบแท่งตัวอย่างด้วยเครื่องทดสอบกำลังอัด เพื่อหากำลังอัดประลัยซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น