วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คอนกรีต (CONCRETE)


. คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ มวลละเอียด (ทราย) มวลรวมหยาบ (หินหรือ กรวด) และน้ำ ผสมกันในอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยให้มวลรวมละเอียด คือทรายแทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างมวลรวมหยาบคือ หินหรือกรวด และมีส่วนผสมของน้ำกับปูนซีเมนต์ ซึ่งเราเรียกว่า ซีเมนต์เพสต์ (Cement paste) เป็นตัวประสานให้มวลละเอียดกับมวลหยาบยึดติดกันแน่น คอนกรีตที่ผสมเสร็จใหม่ ๆ เราเรียกว่า คอนกรีตสด (Fresh Concrete) เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะแข็งแรง และทนทานคล้ายหินธรรมชาติ

1. ชนิด และประเภทของคอนกรีต

1.1 ประเภทของคอนกรีตโครงสร้าง

 

1.1.1 คอนกรีตล้วน (Plane Concrete)
เป็นโครงสร้างที่ใช้คอนกรีตอย่างเดียวล้วน ๆ ไม่มีวัสดุอื่นมาเสริมหรือประกอบเลย ใช้กับโครงสร้างที่รับเฉพาะแรงอัด เช่น เขื่อนกั้นดิน ทำฐานคอนกรีตที่มีความหนามาก ๆ ใช้รองรับโครงสร้าง หรือเครื่องจักร
1.1.2 คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete)
นิยมเรียกโดยย่อว่า ค.ส.ล. เป็นโครงสร้างทั้งคอนกรีต และเหล็กเสริมประกอบกัน เพื่อให้สามารถรับได้ทั้งแรงอัดและแรงดึง โดยคอนกรีตเป็นส่วนรับแรงอัด ส่วนเหล็กเป็นส่วนรับแรงดึง ปัจจุบันนี้โครงสร้างอาคารโดยทั่วไป จะเป็นโครงสร้างค.ส.ล. แทบทั้งสิ้น
1.1.3 คอนกรีตอัดแรง (Pre-Stressed Concrete) เป็นคอนกรีตที่ใช้เหล็กเสริมที่ต้านทานแรงดึงได้สูง โดยการดึงเหล็กให้ยืดออกแล้วตัดเหล็ก ปล่อยให้เหล็กหดตัวกลับแล้วอัดคอนกรีต จึงเรียกคอนกรีตอัดแรง สามารถรับแรงได้ดีกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา นิยมใช้กับงานท่อน้ำ ถังน้ำ สะพาน ระบบพื้น และเข็มคอนกรีตอัดแรง คอนกรีตอัดแรงทำได้ 2 วิธี คือ วิธีดึงก่อน และวิธีดึงทีหลัง
1.1.4 คอนกรีตหล่อก่อน (Precast Concrete)
เป็นการทำคอนกรีตในโรงงานผลิต หมายถึงการผลิตเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นแบบหล่อต้องสร้างอย่างแข็งแรง บางทีทำด้วยเหล็ก เป็นงานทำอยู่กับที่ เช่น เข็ม คาน และท่อคอนกรีต ทั้งยังนำมาใช้กับงานอาคารสำเร็จรูป
1.1.5 คอนกรีตน้ำหนักเบาและการผลิต (Light weight Concrete and Manufacture)
ปรกติคอนกรีตมีน้ำหนักมาก สำหรับโครงสร้างที่ใหญ่ต้องสิ้นเปลืองวัสดุใช้ในการทำฐานรากเป็นจำนวนมาก เพื่อลดขนาดฐานรากให้เล็กลง โดยทำให้เกิดฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต (aerated concrete) หมายถึงทำให้เกิดฟองแก็ส (ไฮโดรเจน) ในคอนกรีตสดด้วยการใส่อลูมิเนียมผง หรือสังกะสีผงลงไป นอกจากนี้ยังมีการหาวัสดุมวลหยาบที่มีน้ำหนักเบา เช่นหินรูพรุนจากภูเขาไฟเพื่อลดน้ำหนักคอนกรีต แต่มีความแข็งแรงเท่ากัน คอนกรีตชนิดนี้มีน้ำหนักประมาณ 300-800ก.ก. ซึ่งคอนกรีตธรรมดาจะมีน้ำหนักประมาณ 2000 ก.ก. / ลูกบาศก์เมตร
1.1.6 คอนกรีตไร้มวลละเอียด (No - fines Concrete)
คอนกรีตชนิดนี้ประกอบด้วยซีเมนต์ และมวลหยาบ อาจเป็นหินหรือกรวดที่มีขนาด 10-20 ม.ม. หรือใช้วัสดุเบาอื่น ๆ จะทำให้น้ำหนักลดลง 3/4 - 2/3 เท่าของน้ำหนักคอนกรีตธรรมดา ส่วนผสมที่ใช้กัน 1 : 8 มีอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ 0.45 คอนกรีตชนิดนี้รับน้ำหนักได้ต่ำ จึงนิยมใช้เป็นผนัง หรือเสริมเป็นไส้ในพื้น การหดตัวเมื่อแห้งของคอนกรีตชนิดนี้ น้อยกว่าคอนกรีตน้ำหนักเบาชนิดอื่น
1.1.7 คอนกรีตต้านทานน้ำทะเล (Concrete Resistance Sea-water) เป็นคอนกรีตที่สามารถต้านทานการกัดกร่อนจากน้ำทะเลได้ เนื่องจากคอนกรีตสามารถดูดซึมน้ำทะเลได้ การดูดซึมและการระเหยของน้ำทะเล จะทำให้เกิดการตกตะกอนของเกลือ และจะพอกเป็นก้อนเกลือในที่สุด ซึ่งเกลือนี้จะเป็นตัวทำปฏิกิริยาเคมีกับเนื้อคอนกรีต ทำให้ผุกร่อนไปถึงเหล็กเสริม แล้วจะทำให้เหล็กเสริมผุไป เป็นคอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้างทางทะเล และบริเวณทะเล เช่น อู่ต่อเรือ ท่าจอดเรือ เป็นต้น

1.2 ผิวคอนกรีตในงานสถาปัตยกรรม


1.2.1 คอนกรีตเปลือย 
เมื่อนำแบบหล่อออกแล้ว จะปล่อยให้ผิวคอนกรีตเป็นไปตามรูปแบบหล่อนั้นโดยตรง จะมีการแต่งผิวขั้นสุดท้ายโดยใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายละเอียดที่ร่อนจากตะแกรงตาถี่ ๆ ใส่น้ำเหลวมาก เอาแปรงไม้กวาดจุ่มปูนปาดตามผิวคอนกรีต ทรายจะเข้าไปอุดในรูพรุนเล็ก ๆ ทำให้ผิวเรียบไม่เปลืองสีรองพื้น สำหรับไม้แบบของคอนกรีตเปลือยจะต้องประณีต และแข็งแรง
1.2.2 คอนกรีตฉาบผิวด้วยปูนทราย 
ผิวแบบหล่อจะต้องหยาบเพื่อให้ปูนฉาบจับได้แน่นไม่หลุดร่อน ปูนฉาบประกอบด้วยทรายละเอียดร่อนพร้อมปูนขาวหมักด้วยน้ำ และผสมปูนซีเมนต์ ในกรณีนี้แบบหล่อไม่จำเป็นต้องประณีต แต่ต้องแข็งแรงเพื่อไม่ให้ลำบากในการฉาบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น