วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

วิศวกรรมโยธา (CIVIL ENGINEERING)


     วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาที่กว้างขวางและมีบทบาทต่อสังคมมากที่สุดสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ งานของวิศวกรโยธาเกี่ยวพันกับการก่อสร้างอาคาร สะพาน เขื่อน ถนนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆอีกมากมาย วิศวกรโยธามีหน้าที่วางแผน ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างตั้งแต่งานขนาดเล็กไปจนถึงโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตึกระฟ้า ท่าอากาศยาน ศูนย์การผลิตและควบคุมบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้วิศวกรโยธายังมีบทบาทสำคัญในการคิดค้นและพัฒนาระบบขนส่งและระบบสาธารณูปโภคในอนาคต เช่น การออกแบบระบบรถไฟอนาคตซึ่งใช้แรงแม่เหล็กเพื่อออกแรงยกตัวและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Magnetic levitation trains)
นิยามเกี่ยวกับอาชีพวิศวกรโยธา
ออกแบบ คำนวณ วางแผน จัดระบบงาน ควบคุมงานโครงการ พิจารณาตรวจสอบ ให้คำปรึกษาด้านการก่อสร้างอาคารโรงงาน อาคารสาธารณะ สะพาน อู่เรือ เขื่อนกั้นน้ำ กำแพงกั้นน้ำ โครงสร้างอื่น รวมทั้งการติดตั้ง การใช้และการบำรุงเครื่องจักรต่าง ๆ : พิจารณาโครงการ สำรวจหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง ; สำรวจและประเมินลักษณะและความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ เพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไร ; สำรวจพื้นผิวดินและใต้ผิวดิน เพื่อนำไปออกแบบฐานรากที่เหมาะสม ปรึกษาหารือในการก่อสร้างกับผู้ชำนาญการสาขาอื่น ๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรเครื่องกล กรณีที่มีการก่อสร้างงานระบบต่าง ๆ เพื่อกำหนดผังฐานรองท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่องานระบบต่าง ๆ และงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ; คำนวณหาค่าความเค้น ความเครียด ปริมาณน้ำ ความแรงของลมและอุณหภูมิ ความลาดและตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการคำนวณออกแบบงานด้านโยธา ตรวจสอบแปลนรายการก่อสร้าง ปริมาณวัสดุ และประมาณการราคาในงานโยธา ; กำหนดอุปกรณ์ เครื่องจักรต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง เช่น งานดินถมดินตัดในงานถนน งานเขื่อน งานโยธาชนิดอื่น ๆ ; วางแผนการปฏิบัติงานและควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ; ทดสอบ ตรวจสอบโครงสร้างทั้งเก่าและใหม่เพื่อวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรง รวมทั้งควบคุมการซ่อมแซมกรณีที่เกิดการชำรุดเสียหายขึ้น
ลักษณะของงานที่วิศวกรโยธาต้องรับผิดชอบ
วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและระบบสาธารณสุขอื่นๆ พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการ ก่อสร้าง สำรวจและประเมินลักษณะ และความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศทางบก และทางน้ำเพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไรบ้าง สำรวจดูพื้นผิวดินและใต้ผิวดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างใด และเหมาะสมที่จะรองรับสิ่งก่อสร้างเพียงใด ปรึกษาหารือในเรื่องโครงการกับผู้ชำนาญงานสาขาอื่นๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรช่างกล วางแผนผังรากฐาน ท่อสายไฟ ท่อต่างๆ และงานพื้นดินอื่นๆ คำนวณความเค้น ความเครียด จำนวนน้ำ ผลอันเนื่องมาจากความแรงของลมและอุณหภูมิ ความลาด และเหตุอื่นๆ เตรียมแบบแปลนรายงานก่อสร้าง และจัดทำประมาณการวัสดุและประมาณการราคา เลือกชนิดของเครื่องมือขนย้ายดิน เครื่องชักรอก เครื่องจักรกล และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะใช้ในงานก่อสร้าง จัดทำตารางปฏิบัติงานและควบคุมให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทดสอบ และตรวจดูโครงสร้างทั้งเก่า และใหม่ ตลอดจนวางแผนและจัดระบบงานซ่อม
ลักษณะการจ้างงานและการทำงาน
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือน ตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยส่วนใหญ่จะทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุด อาจจะต้องทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สถานที่ทำงานของวิศวกรโยธาจะมีสภาพเหมือนที่ทำงานทั่วไป คือ เป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป แต่โดยลักษณะงานที่จะต้องควบคุมงานสำรวจ ก่อสร้าง หรือซ่อมแซมจึงจำเป็นที่จะต้องตรวจดูงานนอกสถานที่ในบางครั้ง เนื่องจากต้องควบคุมดูแลงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับงานหรือสถานที่ทำงานที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย ในการทำงาน วิศวกรโยธาจึงต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน

เนื้อหาที่ต้องเรียนรู้เมื่อเข้ามาศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธา

การเขียนแบบวิศวกรรม 1 (Engineering Drawing I) การใช้เครื่องมือเขียนแบบ ออโตกราฟฟิคโปรเจคชั่น การเขียนภาพออโตกราฟฟิค การเขียนภาพพิคตอเรียล การกำหนดขนาดการเขียนภาพตัด การสะเก็ดภาพด้วยมือ
กลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics) คุณสมบัติของของไหล ของไหลสถิตย์ ชนิดของการไหล สมการควบคุมสภาพ โมเมนตัมเชิงเส้น สำหรับการไหลคงที่ ผลจากการเสียดทาน การไหลแบบสม่ำเสมอของของไหลอัดตัวไม่ได้ การไหลในท่อแบบราบเรียบและแบบปั่นป่วน การวัดการไหล การวิเคราะห์มิติ การไหลหนืดแบบราบเรียบ การประยุกต์งานของไหลในงานวิศวกรรม เช่น การหล่อลื่น เครื่องจักรกลของไหล การจำแนกประเภทและการประเมินสมรรถนะของเครื่องกังหันชนิดหมุนเหวี่ยงและชนิดในแนวแกน
ปฏิบัติการกลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics Laboratory) เครื่องกังหันเพลตัน เครื่องกังหันฟรานซิส เครื่องกังหันคาพาล การทดสอบสมรรถนะของปั๊ม การต่อปั๊มแบบอนุกรมและขนาน การหล่อลื่นในแบริ่ง
ปฏิบัติการวิศวกรรมโรงงาน (Engineering Workshop Practice) งานปรับแต่งโลหะ : การใช้เครื่องมือวัดอย่างง่าย งานตะไบ การทำเกลียวนอกและเกลียวใน งานโลหะแผ่น งานเชื่อมโลหะ : การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมไฟฟ้า การบัดกรี เครื่องมือกลอย่างง่าย : การใช้เครื่องเจาะ เครื่องเลื่อย ค้อน สกัด
สถิติวิศวกรรม (Engineering Statistics) ทฤษฎีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การพิสูจน์เชิงสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์และการหาสมการความสัมพันธ์ การใช้วิธีการทางสถิติเพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
วัสดุวิศวกรรม (Engineering Materials) การศึกษาวัสดุทางวิศวกรรม เช่น โลหะ พลาสติก แอสฟัลท์ ไม้และคอนกรีต การศึกษาเฟสไดอะแกรม การทดสอบคุณสมบัติวัสดุ การศึกษาโครงสร้างทางจุลภาคและมหภาคที่สัมพันธ์กับคุณสมบัติวัสดุ กระบวนการผลิตสำหรับชิ้นส่วนต่างๆที่ใช้วัสดุวิศวกรรม
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร (Computer Programming for Engineer) ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ โครงสร้างโปรแกรม แผนภูมิ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณ เช่น ฟอร์แทรน ปาสคาล วิชวลเบสิค
แนะนำวิชาชีพวิศวกรรม (Introduction to Engineering) ประวัติวิศวกรรมศาสตร์ วิชาชีพวิศวกรรมศาสตร์ แนวทางการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม การคำนวณทางวิศวกรรม วิชาพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์ การสื่อความหมายทางวิศวกรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพวิศวกรรม
สถิตยศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Statics) ระบบแรง ผลรวมของแรง ความสมดุล ของไหลสถิตย์ คิเนติกส์และคิเนเมติกส์ของอนุภาคและวัตถุ กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน ความฝืด หลักการของวิธีงานสมมุติ ความมั่นคง โมเมนต์ของการเคลื่อนที่
กำลังวัสดุ 1 (Strength of Materials 1) หน่วยแรงและความเครียด คุณสมบัติกลของวัสดุ หน่วยแรงดัดและหน่วยแรงเฉือนในคาน คานประกอบและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก หน่วยแรงบิด หน่วยแรงหลัก หน่วยแรงผสมและวงกลมโมร์ พลังงานความเครียดกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโครงสร้าง รอยต่อแบบหมุดย้ำ สลักเกลียวและรอยเชื่อม
กำลังวัสดุ 2 (Strength of Materials II) การโก่งตัวของเสารับน้ำหนักตรงศูนย์ เสารับน้ำหนักเยื้องศูนย์ ชิ้นส่วนรับแรงดึงและแรงดัด คานโค้ง คานต่อเนื่องกับทฤษฎีไตรโมเมนต์ คานบนฐานยืดหยุ่น การบิดของชิ้นส่วนหน้าตัดไม่กลม การบิดของท่อผนังบางหน่วยแรงในภาชนะรับแรงดันผนังบาง ความเข้มของหน่วยแรง แรงกระแทกและแรงกระทำซ้ำ ทฤษฎีการวิบัติ
คณิตศาสตร์ประยุกต์สำหรับวิศวกรโยธา (Applied Mathematics for Civil Engineering) อนุกรมเทเลอร์ อนุกรมฟูเรียร์ ปัญหาค่าขอบเขตในเรื่องคานและคานเสา ปัญหาค่าเริ่มต้น เมตริกซ์ และ ดีเทอร์มินัน ระบบของสมการเชิงเส้น ปัญหาค่าไอเกนในเรื่องการโก่งเดาะ
การสำรวจ 1 (Surveying I) หลักการพื้นฐานของการสำรวจ เครื่องมือในการสำรวจ การทดสอบและปรับแก้เครื่องมือ การวัดและความคลาดเคลื่อน ความละเอียดและความถูกต้อง การวัดระยะทาง โต๊ะแผนที่ การทำระดับ การสำรวจด้วยเข็มทิศ การวัดมุมด้วยกล้องธีโอโดไลท์ การทำวงรอบ การหาพื้นที่สเตเดียและการสำรวจด้วยสเตเดีย
การสำรวจ 2 (Surveying II) การทำโครงข่ายสามเหลี่ยมเบื้องต้น เส้นชั้นความสูง การคำนวณงานดิน การแบ่งชั้นงานสำรวจและการปรับแก้ การหาอาซิมมุทอย่างละเอียด การสำรวจด้วยกล้องธีโอโดไลท์แบบอิเล็กทรอนิกส์ การสำรวจเส้นทาง การสำรวจงานก่อสร้าง การทำแผนที่
การฝึกงานสำรวจภาคสนาม (Practical Training in Surveying) การฝึกงานสำรวจภาคสนาม งานรังวัด/สำรวจพื้นที่ การสร้างหมุดควบคุมทางราบและทางดิ่ง การจัดทำขอบเขตพื้นที่สำรวจ การเก็บรายละเอียดบนพื้นที่ การจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ การคำนวณหาปริมาณงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางวิศวกรรม การจัดทำรายงานและเอกสารการสำรวจ
ธรณีวิทยาวิศวกรรม (Engineering Geology) โครงสร้างและลักษณะของผิวโลก แร่ หินและดิน การผุพัง การกัดกร่อน การเคลื่อนที่ของมวล การทับถม การก่อตัวของดิน แผ่นดินไหว ชั้นน้ำบาดาล ธรณีกาล แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา การสำรวจทางธรณีวิทยาในงานวิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulics Engineering) การจำแนกการไหลทางชลศาสตร์ หลักการพื้นฐานของการไหลซึ่งได้แก่ กฎแห่งการไม่สูญหายของมวล หลักการทางพลังงาน และหลักการทางโมเมนตั้ม การไหลในท่อและอุโมงค์ปิด การไหลในทางน้ำเปิด การไหลในทางน้ำเปิดที่เปลี่ยนขนาด การไหลผ่านจุดบังคับน้ำ การไหลในสภาพไม่คงตัว การเคลื่อนที่ของคลื่น การเคลื่อนที่ของตะกอน
ปฏิบัติการวิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulics Engineering Laboratory) การทดลองในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา วิศวกรรมชลศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจทฤษฎีและพฤติกรรมทางชลศาสตร์ได้ดีขึ้น
การเขียนแบบวิศวกรรม 2 (Engineering Drawing II) พื้นฐานการเขียนแบบด้วย CAD ระบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การเขียนรูปเรขาคณิต รูปทรงต้น รูปทรงพื้นผิว รูปตัด ตัวอักษร มิติการเขียนแบบก่อสร้าง การพิมพ์แบบ
ทฤษฎีโครงสร้าง (Structural Theory) เสถียรภาพและสถานภาพการหาคำตอบของโครงสร้าง การวิเคราะห์คานโครงข้อหมุนและโครงข้อแข็งแบบหาคำตอบได้โดยง่าย เส้นอิทธิพลของคาน ระบบพื้นคานและโครงข้อหมุนสะพานแบบหาคำตอบได้โดยง่าย การคำนวณค่าวิกฤตสำหรับน้ำหนักเคลื่อนที่และการเสียรูปแบบยืดหยุ่นของโครงสร้างโดยวิธีงานสมมุติ วิธีของคาสติเกลียโน วิธีโมเมนต์-พื้นที่ และวิธีคานเสมือน
การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structural Analysis) การวิเคราะห์คาน โครงข้อหมุนและโครงข้อแข็งแบบไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยสมการสมดุลตามลำพัง โดยอาศัยหลักการพลังงาน ได้แก่วิธีความโก่ง ความชัน และวิธีการกระจายโมเมนต์ เส้นอินฟลูเอ็นซ์สำหรับโครงสร้างแบบไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยสมการสมดุลตามลำพัง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงพลาสติก และวิธีวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้เมตริกซ์
ปฏิบัติการวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering Laboratory) การวัดความเครียดโดยใช้ตัววัดความเครียดแบบเชิงกล แสง และไฟฟ้าโฟโตอีลาสติกซิตี้ การทดสอบคานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานคอนกรีตอัดแรงคานเหล็กและเสา การทดสอบโครงเหล็กและโครงข้อหมุนจำลอง
กลศาสตร์ดิน (Soil Mechanics) กำเนิดของดิน คุณสมบัติทางฟิสิคส์ของดิน การจำแนกดิน การสำรวจดิน การไหลของน้ำในดิน ความเค้นในดิน กำลังเฉือนของดินเม็ดหยาบ กำลังเฉือนของดินเม็ดละเอียด ทฤษฎีการอัดตัว การทรุดตัว การบดอัดดิน
ปฏิบัติการกลศาสตร์ดิน (Soil Mechanics Laboratory) การเก็บและเตรียมตัวอย่างดิน การหาความถ่วงจำเพาะ การวิเคราะห์ขนาดเม็ดดินโดยตะแกรงและไฮโดรมิเตอร์ พิกัดแอทเทอร์เบิร์ค การทดลองหาความซึมผ่านได้ การทดลองการอัดตัวในทิศทางเดียว การทดลองหากำลังเฉือนโดยตรง การทดลองกดอัดทางเดียว การทดลองกดอัดสามทาง
วิศวกรรมฐานราก (Foundation Engineering) การสำรวจดิน การวิเคราะห์หากำลังรับน้ำหนักบรรทุกและการทรุดตัวของฐานราก ฐานรากตื้นและฐานรากหยั่งลึก แรงดันด้านข้างของดิน การออกแบบฐานรากตื้น การออกแบบฐานรากเสาเข็ม การออกแบบกำแพงกั้นดินและเข็มพืด เสถียรภาพของคันดิน
อุทกวิทยา (Hydrology) ระบบและกระบวนการทางอุทกวิทยา วัฏจักรของน้ำ การหมุนเวียนของบรรยากาศและการตกของน้ำลงสู่ผิวโลก การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝน คุณสมบัติและลักษณะของฝน การสูญหายทางอุทกวิทยา ลักษณะทางอุทกวิทยาและการไหลของน้ำใต้ผิวดิน น้ำท่าและชลภาพ การหาการเคลื่อนที่ของน้ำ การทำนายทางอุทกวิทยา การออกแบบทางอุทกวิทยา การสร้างแบบจำลองและการจำลองสภาพทางอุทกวิทยา
วิศวกรรมการประปาและสุขาภิบาล (Water supply and Sanitary Engineering) ระบบประปาและระบบน้ำเสีย ปริมาณน้ำใช้และน้ำทิ้งในชุมชน แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน ระบบท่อประปาและท่อน้ำทิ้งในชุมชน คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ลักษณะของน้ำเสีย หลักเบื้องต้นของการผลิตน้ำประปาและบำบัดน้ำเสีย
วิศวกรรมการทาง (Highway Engineering) ระบบทางกลวง องค์กรและสมาคมที่เกี่ยวข้อง การวางแผนและประเมินทางหลวง ลักษณะของผู้ใช้ถนน ยวดยาน การจราจร และถนน การออกแบบทางเรขาคณิต การระบายน้ำ วิศวกรรมการจราจรเบื้องตัน วัสดุการทาง การออกแบบผิวจราจรเบื้องต้น วิธีการก่อสร้าง การบำรุงรักษาและปรับปรุงทางหลวง
ปฏิบัติการวิศวกรรมการทาง (Highway Engineering Laboratory) การวิเคราะห์วัสดุมวลคละ การทดสอบแอสฟัลท์ซีเมนต์ – อิมัลซิฟายด์ และคัทแบคแอสฟัลท์ การทดสอบแอสฟัลติกคอนกรีต
การฝึกงาน (Practical Training) นักศึกษาแต่ละคนจะต้องผ่านการฝึกงานในสถานที่ฝึกงานอยู่ไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ การฝึกงานจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจัดหาฝึกงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนักศึกษาจะต้องส่งบันทึกรายงานการฝึกงานเพื่อประกอบการประเมินผลด้วย
ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์สำหรับวิศวกร (Geographic Information System for Engineers) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์(GIS) ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับ GIS ซอฟแวร์สำหรับGIS ฐานข้อมูลและ การจัดการระบบฐานข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูล การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลในเชิงภูมิศาสตร์พร้อมคำอธิบายที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Design) ส่วนต่าง ๆ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและการคิดน้ำหนัก การออกแบบส่วนต่าง ๆ ของอาคารโดยวิธีหน่วยแรงปลอดภัย และวิธีแรงประลัย ได้แก่ คาน พื้นทางเดียว พื้นสองทาง พื้นไร้คาน บันได เสารับน้ำหนักตรงศูนย์และเยื้องศูนย์ ฐานราก ทฤษฎีเส้นคลากเบื้องต้น
การออกแบบโครงสร้างเหล็กและไม้ (Steel and Timber Design) คุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของโครงสร้างเหล็กและไม้ การออกแบบชิ้นส่วนรับแรงดัด แรงดึง แรงอัดและแรงผสม การออกแบบรอยต่อโครงสร้างเหล็ก รอยต่อโครงสร้างไม้ คานเหล็กประกอบ โครงข้อหมุนเหล็กและคานไม้อัด
การออกแบบคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Design) หลักการ วิธีการ และวัสดุที่ใช้ในการอัดแรง การวิเคราะห์และออกแบบโดยวิธีอิลาสติกสำหรับคานคอนกรีตอัดแรงแบบง่าย กำลังดัดและกำลังเฉือนของหน้าตัดคอนกรีตอัดแรง ปริมาณสูญเสียของการอัดแรง การออกแบบที่ยึด การโก่งคานแบบผสม
การออกแบบอาคาร (Building Design) การวางฝังและการออกแบบอาคารอุตสาหกรรมชั้นเดียว อาคารหลายชั้นและอาคารสูง โดยพิจารณาถึงการออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสุขาภิบาลและระบบเครื่องกลในอาคาร
วิธีการทางคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์โครงสร้าง (Computer Method of Structural Analysis) วิธีเฟลกซิบิลิตี วิธีสติฟเนส วิธีไดเร็คสติฟเนส โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการวิเคราะห์โครงสร้าง
การออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว (Seismic Design of Structures) เปลือกโลก สาเหตุของแผ่นดินไหว องค์ประกอบของโครงสร้าง ระบบพื้นประเภทแข็งหรืออ่อน องค์ประกอบรับแรงแนวดิ่ง ระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือน โครงยึด โครงข้อแข็งที่มีความเหนียว ความเหนียวของโครงสร้าง รายละเอียดของโครงสร้าง
ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง (Structural Safety and Reliability) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของโครงสร้าง ทบทวนทฤษฎีความน่าจะเป็น การแจกแจงชนิดที่ใช้กันโดยสามัญ ทฤษฎีความน่าเชื่อถือ การจำลองตัวแปรร่วมในงานวิศวกรรมโยธา การจำลองน้ำหนักบรรทุก ความต้านทานและการตอบสนองของโครงสร้าง วิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ วิธีคำตอบถูกต้อง วิธีคำตอบประมาณ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือมาตรฐานอาคารในปัจจุบัน และการจัดทำมาตรฐานโดยอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
วัสดุก่อสร้าง (Construction Materials) ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มวลคละในคอนกรีต น้ำและ สารผสมเพิ่มสำหรับคอนกรีต คุณสมบัติของคอนกรีตสดและคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว การบ่ม การออกแบบ ส่วนผสมของคอนกรีต ชนิดและคุณสมบัติของเหล็กโครงสร้าง คุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของไม้ การรักษาไม้ ไม้อัด อิฐและคอนกรีตบล็อค ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์-แอสเบสตอส พลาสติก เซรามิก ยางมะตอย และสี
ปฏิบัติการวัสดุก่อสร้าง (Construction Materials Laboratory) การทดสอบคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ ซีเมนต์ : ความละเอียดและเวลาก่อตัวของซีเมนต์ มวลคละ: สารอินทรีย์เจือปน ค่าสมมูลทราย การพองตัว การกระจาย ขนาดหน่วยน้ำหนัก ความถ่วงจำเพาะ การดูดซึม ความต้านทานต่อการขัดสี คอนกรีต: ปริมาณอากาศ ความข้นเหลว โมดูลัสของความยืดหยุ่น กำลังอัด กำลังดึงและกำลังดัด โลหะ: กำลังดึง และกำลังบิดของเหล็กกล้า อลูมิเนียม เหล็กหล่อ ทองเหลือง ไม้:ความแข็ง กำลังฉีก กำลังเฉือน กำลังอัด และกำลังดัด
การจัดการและเทคนิคการก่อสร้าง (Construction Technique and Management) ขั้นตอนและเทคนิคการก่อสร้างอาคาร ถนน สะพาน เขื่อน อุโมงค์ ระบบท่อและงานสุขาภิบาล การบริหารงานก่อสร้าง การประมาณราคา การวางแผนงานก่อสร้าง การเงินและวัสดุ แรงงานและเครื่องจักร เนทเวอร์คและซีพีเอ็มเบื้องต้น การจัดองค์กร การควบคุมค่าใช้จ่าย การตรวจสอบ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของงานก่อสร้าง
การประมาณและวิเคราะห์ราคา (Construction Cost Estimation and Analysis) หลักการประมาณราคา การประมาณอย่างหยาบ การประมาณอย่างละเอียด การประมาณอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ต้นทุนของแรงงานและเครื่องจักร การวิเคราะห์ประสิทธิผล ยุทธวิธีการประมูล วิธีการประมูลแบบ A+B
เทคโนโลยีคอนกรีต (Concrete Technology) ส่วนผสมและชนิดของคอนกรีต การเคลื่อนย้าย การหล่อ และการตรวจสอบรับคอนกรีต ข้อกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของคอนกรีต การออกแบบส่วนผสม การควบคุมคุณภาพคอนกรีต คอนกรีตชนิดพิเศษ สารผสมเพิ่ม การทดสอบคอนกรีตและส่วนผสม
การวางแผนโครงการ (Project Planning) กระบวนการวางแผน การกำหนดเงื่อนไขและปัญหา การวิเคราะห์หาความต้องการด้านเทคนิค ความเหมาะสมด้านการเงิน และเศรษฐศาสตร์ การทำงบประมาณต้นทุน การพิจารณาถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจในกรณีมีหลายวัตถุประสงค์ การวางแผนขั้นสุดท้ายและการทำให้เป็นผล
เทคโนโลยีแอสฟัลท์ (Asphalt Technology) จุดกำเนิดและอุตสาหกรรมการผลิตแอสฟัลท์ ผิวจราจรแอสฟัลท์สำหรับยวดยาน วัสดุสำหรับผิวจราจรแอสฟัลท์ ประเภทของการก่อสร้างผิวจราจรแอสฟัลท์ คุณสมบัติและการทดสอบ ข้อกำหนด ชนิดของหิน การผสมส่วนคละ การออกแบบส่วนผสม การผลิตและการก่อสร้างคอนกรีตแอสฟัลท์ การดูแลปรับปรุงผิวบน การบำรุงรักษาผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ การผสมร้อน การนำกลับมาใช้ใหม่
โครงสร้างดิน (Earth Structures) การใช้ดินเป็นวัสดุก่อสร้าง การบดอัดดินและคุณสมบัติของดินที่บดอัด ปัญหาเกี่ยวกับการซึมของน้ำ การวิเคราะห์เสถียรภาพของความลาด การวิเคราะห์ออกแบบและก่อสร้างทำนบดินและเขื่อนดิน
ฐานรากแบบเสาเข็มและการปรับปรุงดิน (Pile Foundation and Soil Improvement) การหากำลังรับน้ำหนักสูงสุดด้วยวิธีทางสถิตยศาสตร์และพลศาสตร์ การวิเคราะห์การทรุดตัว การออกแบบเสาเข็มรับแรงด้านข้าง การรับแรงของเสาเข็มแบบกลุ่มและเสาเข็มแพ แรงเสียดทานย้อนกลับ เสาเข็มในดินที่มีการพองตัวและหดตัว การโก่งหักของเสาเข็มทรงชะลูด การทดสอบเสาเข็ม วิธีการปรับปรุงดินโดยวิธีบดอัด การอัดแน่นโดยน้ำหนักบรรทุกที่ผิวดิน การฉีดอัดสารเพื่อการอุดแน่น การเติมสารและการเสริมกำลังรับน้ำหนักของดิน
วิศวกรรมธรณีสิ่งแวดล้อม (Geoenvironmental Engineering) ความสำคัญของทรัพยากรดินและแหล่งน้ำใต้ดินในทางวิศวกรรม แหล่งกำเนิดและชนิดของการปนเปื้อน กลไกการเคลื่อนที่ของสารปนเปื้อนในตัวกลางพรุน องค์ประกอบของระบบเก็บกักกากของเสีย หน้าที่และประเภทของวัสดุกันซึมในการควบคุมการเคลื่อนที่ของสารปนเปื้อน วัสดุกันซึมธรรมชาติและวัสดุธรณีสังเคราะห์ การติดตามและปรับปรุงคุณภาพของดินและแหล่งน้ำใต้ดิน
ชลศาสตร์ของน้ำใต้ดิน (Groundwater Hydraulics) กลศาสตร์การไหลผ่านตัวกลางพรุน กฏของดาร์ซี่ ระบบชั้นน้ำใต้ดิน สมการการไหลในระบบชั้นน้ำใต้ดิน สมการการเคลื่อนที่ของสารละลายในน้ำใต้ดิน การวิเคราะห์การไหลในสภาพอิ่มตัวด้วยน้ำ แบบการไหลการวิเคราะห์การไหลในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ การวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของสารละลายในน้ำใต้ดิน แบบจำลองเชิงตัวเลขของการไหลในระบบน้ำใต้ดิน
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resources Engineering) ทบทวนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุทกวิทยาและชลศาสตร์ ประเภทของแหล่งน้ำและการใช้ประโยชน์ การวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ หลักการออกแบบแหล่งน้ำประเภทต่างๆ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของระบบแหล่งน้ำ
วิศวกรรมชลประทานและการระบายน้ำ (Irrigation and Drainage Engineering) ความต้องการน้ำ ความสัมพันธ์ของน้ำและดิน คุณภาพน้ำ วิธีการชลประทาน โครงสร้างทางชลประทาน การประมาณการไหล การระบายน้ำฝนจากพื้นที่เมือง การระบายน้ำจากพื้นดิน การระบายน้ำจากถนน ท่อลอดและสะพาน
โครงสร้างทางชลศาสตร์ (Hydraulic Structures) หลักการทางชลศาสตร์ที่ใช้ในการออกแบบ การออกแบบอาคารทางชลศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย เขื่อน ทางระบายน้ำล้นและคลองส่ง อาคารสลายพลังงาน อาคารลดระดับ ประตูน้ำ อาคารยกระดับน้ำ อาคารวัดปริมาณการไหลแบบต่าง ๆ และระบบการส่งน้ำตามคลอง
การบริหารงานวิศวกรรม (Engineering Management) การบริหารจัดการทางวิศวกรรม (องค์ประกอบของการบริหารจัดการ) การจัดองค์กร (ทฤษฎีการจัดองค์กร) การบริหารจัดการโครงการ (รูปแบบการบริหารจัดการโครงการ) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือเพิ่มผลผลิต งบประมาณ และการประมาณการ สัญญาในงานวิศวกรรม (รูปแบบสัญญาและการเลือกใช้ความเสี่ยง และการบริหารจัดการท่ามกลางความเสี่ยง) การประกันภัย การวางแผนโครงการทางวิศวกรรม (องค์ประกอบและปัจจัยในการวางแผน) การบริหารทรัพยากร-บุคคล (การพัฒนาทักษะหรือศึกยภาพของทรัพยากรบุคคล มนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร) สวัสดิภาพและความปลอดภัยในงานวิศวกรรม ข้อมูลข่าวสารในองค์กร (การสื่อสารในองค์กร) การติดตามความก้าวหน้า การประเมิน และควบคุมการคุมโครงการ ข้อพิพาทเรียกร้องและวิธีระงับ
วิศวกรรมการขนส่ง (Transportation Engineering) ระบบการขนส่ง การดำเนินการและการควบคุมยวดยานขนส่ง การวางแผนและการประเมินการขนส่ง การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
การออกแบบผิวจราจร (Pavement Design) ชนิดของผิวจราจร น้ำหนักล้อ หน่วยแรงในผิวจราจรแบบยืดหยุ่นและแบบแข็ง ยวดยานและการจราจร คุณสมบัติและการทดสอบส่วนประกอบของผิวจราจร การออกแบบผิวจราจรแบบยืดหยุ่นและแบบแข็งสำหรับถนนและสนามบิน การก่อสร้าง-การประเมินและการปรับปรุงผิวจราจร
วิธีการคำนวณในวิศวกรรมโยธา (Computational Methods in Civil Engineering) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคำนวณทางวิศวกรรม การแก้ระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น การแก้ปัญหาย้อนกลับ ปัญหาค่าไอเกน การแก้สมการนอนลิเนียร์ วิธีการเชิงตัวเลขสำหรับการแก้สมการดิฟเฟอร์เรนเชียลแบบธรรมดาและแบบพาร์เชี่ยล
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรมโยธา (Computer Softwares in Civil Engineering) ทบทวนความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ออกแบบทางวิศวกรรมโยธา เช่น การวิเคราะห์โครงสร้าง การออกแบบโครงสร้าง การวิเคราะห์ทางอุทกวิทยาและชลศาสตร์ การจัดการงานก่อสร้าง การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
งานโครงการวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering Project) ศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานโครงการที่เลือกขึ้น โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา เค้าโครงงานโครงการที่จัดทำขึ้นซึ่งประกอบด้วยวัตถุประสงค์ วิธีการและแผนงาน โดยจะต้องนำเสนอโดยการสอบปากเปล่าก่อนการดำเนินการโครงการเพื่อการประเมินแนวความคิด
การสัมมนาทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering Seminar) ศึกษา ค้นคว้า และอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับหัวข้อทางวิชาการในปัจจุบันที่น่าสนใจ ตลอดจนการฟังคำบรรยายจากวิทยากรพิเศษ
หัวข้อศึกษาชั้นสูงทางวิศวกรรมโยธา (Advanced Study Topics in Civil Engineering) ศึกษาหัวข้อที่น่าสนใจในปัจจุบันเกี่ยวกับวิทยาการใหม่ๆ ด้านวิศวกรรมโยธาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและการประกอบวิชาชีพ

งานด้านโครงสร้าง

งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก อัน ได้แก่การลงเสา เข็มและการหล่อ ตอม่อ เพื่อรองรับ โครงสร้าง ของเสาและคาน ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้น ตอนถัดไป หลังจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ พื้นและบันได ซึ่งจะต้อง เชื่อมต่อกับ เสาและ คาน ที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้น จะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบน เพื่อ ความสะดวก ในการทำงาน และ การลำเลียงวัสดุ ต่อจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ หลังคา ซึ่งในปัจจุบันส่วน ใหญ่มักจะทำเป็น โครงเหล็ก โดย เชื่อมต่อกับ เสาและคานชั้นบนสุด หลังจากการทำโครงหลังคา อันเป็น งานโครงสร้าง ส่วนสุดท้ายของ ตัวบ้าน แล้วก็มักจะต่อด้วย การมุงหลังคา เลยเพื่อทำ หน้าที่คุ้ม แดดคุ้มฝน ให้แก่ตัวบ้าน ซึ่งจะสร้างในลำดับถัดไป นอกจากนี้ ยังมีงานโครงสร้างของรั้วซึ่งอาจจะ ทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้างของตัวบ้าน ก็ได้แล้วแต่กำลังคนและ ความสะดวก เนื่องจากเป็นส่วนที่แยกจาก ตัวบ้าน แต่ถ้าเป็นบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัด จำเป็นต้องสร้างตัว บ้านให้ชิดกับรั้ว ก็มักจะทำรั้วภายหลัง เพื่อความสะดวก ใน การจัดวาง และ ลำเลียงวัสดุก่อสร้าง ในระหว่าง การก่อสร้างตัวบ้าน
ในขั้นตอนของ งานโครงสร้าง นี้มีข้อสังเกตบางอย่าง กล่าวคือ อาจมีงานหรือขั้นตอนอื่น ที่จะต้องทำหรือ เตรียมการใน ช่วงจังหวะนี้ ที่พบเห็นกันบ่อย และถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับบ้านทั่วไป นั่นคือ การฉีดยาป้องกันปลวก ไม่ว่า จะใช้ ระบบการวางท่อน้ำยา หรือใช้ ระบบการฉีดยา ให้ซึมลงไป ในดินโดยตรง จะต้องทำก่อนการทำพื้นชั้นล่างของตัวบ้าน โดยเฉพาะ ระบบการวางท่อน้ำยา ซึ่งจะ ต้องเดินท่อ โดยยึดกับคานคอดิน เพราะหลังจาก ทำพื้นชั้นล่างแล้ว จะไม่สามารถเดินท่อได้เลย ถ้าจะ คิดทำในภายหลัง จะทำได้อย่างมาก ก็เป็น การเจาะพื้นแล้ว ฉีดน้ำยาลงไป บนผิวดินด้างล่าง ซึ่งอาจก่อ ให้เกิดความเสียหาย ไม่สวยงาม และได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
อีกจุดหนึ่ง ที่ต้อง ระวังก็คือ การวางตำแหน่ง และ การเดินท่อประปา เนื่องจากในปัจจุบัน บ้านส่วนใหญ่ นิยม เดินท่อประปา ระบบฝังใต้พื้นเพื่อ ความสวยงาม ดังนั้นก่อน การเทพื้น จะต้องแน่ ใจว่า การวางแนวท่อ ต่างๆ ทำไว้อย่างเรียบร้อย และสอดคล้องกับ ตำแหน่งของก๊อกน้ำ ต่างๆที่ได้กำหนดไว้ หรือถ้าจะมี การเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การเทพื้น กลบแนวท่อ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้น การแก้ไขจะทำได้ลำบาก
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการมุงหลังคาก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องเตรียมการในกรณีที่ต้องการติดตั้ง วัสดุป้องกันความร้อน ใต้กระเบื้องหลังคา ก็จะต้องกำหนดไว้ก่อน และทำไปพร้อม ๆ กับขั้นตอนของ การมุงหลังคาเลย
งานก่อสร้างตัวบ้าน
งานก่อสร้างตัวบ้านเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องจากงานด้านโครงสร้าง งานหลักในส่วนนี้ได้แก่การ ก่อผนังและการติดตั้ง วงกบประตู หน้าต่าง ซึ่งจะต้องทำควบคู่กันไป เนื่องจากวงกบประตูหน้าต่าง และผนัง บ้านเป็นสิ่งที่ติดตั้ง เชื่อมต่อเข้า ด้วยกัน ซึ่งการทำผนังบ้าน ในขั้นตอนนี้ จะเป็นเพียงการก่ออิฐ ให้เป็นรูปเป็น ร่องก่อนเพื่อการติดตั้งวงกบ หลังจากทำการติดตั้ง วงกบเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉาบแต่งผนังไปพร้อม ๆ กับ การฉาบแต่งเสา และคาน ส่วนการติดตั้ง บานประต ูหน้าต่างอาจทำ การติดตั้งต่อเนื่องไปเลย หรืออาจจะค่อย ๆ ทยอยติดตั้ง หรืออาจ จะรอไปทำ ในช่วงหลังเลยก็ได้หากเกรงว่าจะก่อเกิดความไม่สะดวกในการลำเลียงวัสดุ หรือก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษา
ในกรณีของบ้านที่มีการเดินท่อน้ำ และสายไฟเป็นระบบฝัง การเดินท่อน้ำและท่อร้อยสายไฟในส่วน ที่จะต้องฝังอยู่ภายในผนัง ก็จะต้องทำในช่วงนี้ การวางท่อต่างๆ จะเริ่มทำหลังจาก ที่ก่อผนังด้วยอิฐแล้ว โดย จะทำ การเจียนผนังอิฐ ให้เป็นร่องลึกลงไป เป็นแนวตาม ที่กำหนดเพื่อจะได้วางท่อให้ฝังลงไปในผนังได้ก่อนที่ จะทำ การฉาบแต่งผนัง ฉะนั้นจุดที่ควรระวังในขั้นตอนนี้ก็คือ ก่อนการฉาบแต่งผนังจะต้องแน่ใจว่าการวาง ท่อต่าง ๆ ทำไว้อย่างถูกต้องเรียบร้อย การวางตำแหน่งของสวิตซ์ไฟ ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับ การเดินท่อ ภายในผนังเป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับแนวท่อที่เดินไว้ หากจะ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การฉาบแต่งผนัง
งานด้านสาธารณูปโภค
งานในส่วนนี้ ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร การเดินสายไฟ และท่อร้อยสายไฟ สำหรับการเดินสายไฟ ระบบฝัง การเดินท่อน้ำประปา และ สายไฟ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การทำพื้นและผนัง ถ้าการเดินท่อน้ำและสาย ไฟเป็น ระบบเดินลอย คือเดินอยู่บนพื้นและ ภายนอกผนัง จะเริ่มทำได้หลังจาก มีการปูแต่งผิวพื้น และ ฉาบแต่งผนัง เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าการเดินท่อน้ำและสายไฟ เป็นแบบฝัง ก็จะต้องทำก่อน การเทพื้น การปูแต่งผิวพื้น และฉาบแต่งผนัง โดยควรจะมีการ ตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง ในการวางตำแหน่งของท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
งานด้านสุขาภิบาล
งานด้านสุขาภิบาล ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำ สาธารณะ การวางท่อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้แก่ การติดตั้งถังบำบัดหรือการทำบ่อเกรอะและบ่อซึม ซึ่งงานในส่วนนี้ จะทำในช่วงไหน ก็ได้แล้วแต่กำลังคน และความสะดวก เนื่องงานเหล่านี้มักเป็นงานที่อยู่ภาย นอกตัวบ้าน แต่จะต้องทำหลังจากเสร็จงาน ด้านฐานราก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากความกระทบกระเทือน จากการทำฐานราก ส่วนในกรณีของบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัดเช่น ทาวเฮาส์ ซึ่งจำเป็นจะต้องติดตั้งถังบำ บัดหรือวางบ่อเกรอะและบ่อซึม อยู่ใต้พื้นห้องน้ำก็จะต้องทำก่อน การเทพื้นห้องน้ำ และในกรณีที่มีการวาง แนวท่อระบายน้ำ ไว้ใกล้กับ แนวรั้ว ก็ต้องทำหลังจาก การทำฐานราก ของรั้ว เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ ให้ท่อระบายน้ำชำรุด จากการทำฐานรากของรั้ว
งานตกแต่ง
งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความ สวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจร่วมอยู่ด้วย ก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่ง ในที่นี้ส่วนใหญ่ มักจะ เป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้ มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอนอื่น ๆ แล้ว
การเรียงลำดับขั้นตอน ในส่วนของงานนี้ ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ งานบางขั้นตอนอาจจะทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำควบคู่กัน ไปก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม หรือความเหมาะสมของ กำลังคนและวัสดุช่วงเวลานั้น ๆ นอกจาก งานบางขั้นตอน ที่สัมพันธ์กัน ก็จะต้องมี ลำดับก่อนหลัง เช่น การบุฝ้าเพดานจะต้องทำหลัง จากการมุงหลังคารวมทั้ง การเดินระบบท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟและสายไฟต่าง ๆ ในส่วนที่อยู่เหนือ ฝ้าเพดาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว การปูพื้นและบุผนัง จะต้องทำหลังจาก การเดินท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในส่วนที่ฝัง อยู่ภายใต้พื้น พื้น และภายในผนัง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การติดตั้งดวงโคมจะต้องทำหลังจากการบุฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อย แล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานตกแต่งเพิ่มเติม ในส่วนท้ายอีก ซึ่งอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ และมักจะไม่รวมอยู่
ในขั้นตอนการปลูก สร้างบ้าน เช่น การติดตั้งลูกกรง เหล็กดัด การติดตั้งผ้าม่าน การจัดสวน ฯลฯ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
จากตัวอย่าง ที่ยกมาตั้งแต่ต้นจะสังเกตเห็นว่างานบางขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั้น การจัดลำดับขั้น ตอนและจังหวะเวลา ในการทำงาน อาจสามารถยึดหยุ่นได้โดยไม่ส่งผลเสียหายแต่ประการใด ในขณะที่งาน บางขั้นตอน ที่มีความสัมพันธ์กัน จะต้องมีการ จัดลำดับขั้นตอนและจังหวะเวลาในการทำให้เหมาะสม รวมทั้งการวางแผน การเตรียมการ และการประสานงานต่าง ๆ จะต้องกระทำ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผลงาน ที่ออกมามี ความถูกต้องเป็นไปตามที่ต้องการ เพราะความผิดพลาดบกพร่อง ในขั้นตอนหนึ่ง ขั้นตอนใดก็ตาม โดยเฉพาะขั้นตอนต้น ๆ ย่อมส่งผลเสียหายไปถึงขั้นตอนถัดไปด้วย ยิ่งถ้าปล่อยให้ผิดพลาดล่วงเลยไป การแก้ไขในภายหลังก็ยิ่งกระทำได้ลำบากยิ่งขึ้น จึงควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย

10 อันดับสะพานที่ยาวที่สุดในโลก

อันดับที่ 10 Seven Mile Bridge ที่ฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา
สะพานนั้นมีชื่อเสียงโด่งดัง รู้จักกันดีในนามของ 7-mile-bridge เป็น location ของการถ่ายหนังดังๆหลายเรื่องเช่น True lies, License to Kill, 2 Fast 2 Furious มีความยาวถึง 7 mile (ตามชื่อเลย หรือประมาณ 11 km) อันดับที่ 9 SAN MATEO-HAYWARD BRIDGE ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
SAN MATEO-HAYWARD BRIDGE เข้ามาเป็นอันดับ 9 กับความยาวถึง 11.2km อันดับที่ 8 CONFEDERATION BRIDGE ที่ New Brunswick, Canada
CONFEDERATION BRIDGE เข้าวินมาเป็นอันดับ 8 ด้วยความยาว 12.9 km อันดับที่ 7 Rio-Niteroi Bridge ที่ State of Rio de Janeiro, Brazil
Rio-Niteroi Bridge ยาวถึง 13 km อันดับที่ 6 Penang Bridge ที่ Malaysia
สะพานปีนัง ยาวกว่า 13.5 กม. เชื่อมเกาะปีนัง และ มาเลเซีย อันดับที่ 5 The Vasco da Gama Bridge ที่โปรตุเกส
สะพานนี้ 17 km และมันยังครองแชมป์ สะพานที่ยาวที่สุดในยุโรปอีกตำแหน่งด้วย อันดับที่ 4 Chesapeake Bay Bridge ที่ United State of America
Chesapeake Bay Bridge หรือเรียกสั้นๆว่า "Bay Bridge" ชื่อเรียกเป็นทางการคือ William Preston Lane, Jr. Memorial Bridge (และควบอันดับการเป็นสะพานข้ามที่ยาวที่สุดในโลก )มีความยาวประมาณ 4.3 miles (7 km) (ไม่เข้าใจว่ายาวแค่ 7 km แต่มาอยู่อันดับ4 ได้ไง) อันดับที่ 3 King Fahd Causeway เชื่อมซาอุ กับ บาเรนห์
King Fahd Causeway เข้ามาเป็นอันดับ 3 สะพานคิงฟาฮัด เป็นทางเชื่อมระหว่างเมืองกอบาร์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย และ ประเทศบาห์เรน มีขนาด 4 เลน กว้าง 23 เมตร ยาว 28 กิโลเมตร อันดับที่ 2 Donghai Bridge ที่ China
Donghai Bridge เข้ามาป็นอันดับ2 ของการจัดอันดับ ยาวถึง 20.2 miles (32.5 km) อันดับที่ 1 Lake Pontchartrain Causeway ที่ United State of America
Lake Pontchartrain Causeway เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวถึง 23.87 miles (38.42 km) ขอบคุณข้อมูลจาก www.toptenthailand.com

สถาปัตย์มหัศจรรย์! โลกตะลึง10ตึกประหลาด (ข่าวสด)

สถาปัตย์มหัศจรรย์! โลกตะลึง10ตึกประหลาด (ข่าวสด) "สถาบันสถาปัตยกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา" พยากรณ์ล่าสุดว่า ผลพวงจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำและภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซา จะส่งผลให้ลักษณะการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในช่วง 2-3 ปีจากนี้ลดการออกแบบหวือหวาลงไปเพื่อประหยัดต้นทุน โดยหันไปเน้นรูปแบบเรียบง่ายและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้นิตยสารเทคโนโลยีเครื่องยนต์กลไกเล่มดัง "พ็อพพิว ลาร์เมคานิก" จึงตระเวนสรรหาตึกแปลกประหลาดพิสดาร ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ด้านสถาปัตยกรรมและแรงโน้มจากทั่วโลกมาให้ได้ยลโฉมกันบางส่วนดังนี้ 1. 30 St. Mary Axe (30 เซนต์ แมรี่ แอ็กซ์) ตึกระฟ้าเจ้าของสถิติอาคารสูงอันดับ 2 ในมหานครลอนดอน ประเทศอังกฤษ เปิดทำการปี 2547 มีชื่อเล่นว่า "ตึกแตง" เพราะรูปทรงคล้ายแตง กลมมนทั้งตึก โครงสร้างเต็มไปด้วยกระจก เฉพาะภายนอกติดตั้งกระจกกินพื้นที่ 24,000 ตารางเมตร
2. The Egg (ดิ เอ้ก) อาคารทรงไข่ผ่าครึ่ง ที่ตั้งศูนย์ศิลปะการแสดงเมืองอัลเบนี่ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีโรงละครอยู่ภายใน 2 โรง ความจุรวม 892 ที่นั่ง ยากที่ใครจะเลียนแบบ เพราะมีโครงสร้างรับน้ำหนักซับซ้อนมาก
3. Flintstone House (ฟลินต์สโตน เฮาส์) บ้านจัดสรรในเมืองเบอร์ลินเกม รัฐแคลิ ฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สร้างเลียนแบบบ้านในการ์ตูนยอดฮิตในอดีต "มนุษย์หินฟลินต์สโตน" ออกแบบโดย วิลเลียม นิโคลสัน เมื่อเกือบ 40 ปีก่อน
4. The Crooked House (เดอะคร้กเก็ดเฮาส์) อาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจเมืองโซพอต ประเทศโปแลนด์ มองดูมีสัดส่วนบิดเบี้ยวสุดๆ ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพบ้านเรือนในหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก ตรงหลังคาออกแบบตั้งใจให้เหมือนเกล็ดมังกร
5.) Basket Building (บาสเก็ตบิลดิ้ง) สำนักงานใหญ่บริษัทลองกาเบอร์เกอร์ เมืองนิวอาร์ก สหรัฐอเมริกา ประกอบกิจการขายตะกร้า ซึ่งก็คือที่มาของอารมณ์นึกสนุกสร้างตึกเป็นทรงตะกร้านั่นเอง
6.) Guggenheim Museum (กุกเกนไฮม์ มิวเซียม) พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ เมืองบิลเบา ประเทศสเปน รังสรรค์โดย แฟรงก์ เกห์รี สถาปนิกชื่อดังระดับโลกชาวแคนาดา ออกแบบให้ดูสับสนวุ่นวาย มองแล้วเดาไม่ออกว่าเส้นสายโครงสร้างจะไปจบตรงไหน
7.) Dancing House (แดนซิ่งเฮาส์) "บ้านเต้นระบำ" กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ผลงาน แฟรงก์ เกห์รี สถาปนิกแคนาดา และวลาโด มิลยูนิช เพื่อนสถาป นิก มีชื่อเล่น "จิงเจอร์แอนด์เฟร็ด" ตามที่มีการออกแบบได้แนวคิดจากท่าเต้นพลิ้วไหวคู่กันของ จิงเจอร์ โรเจอร์ส และเฟร็ด แอสแตร์ สองนักเต้นชื่อดัง
8.) Lotus Temple (โลตัสเทมเปิ้ล) "วัดดอกบัว" หรือ "โลตัสเทมเปิ้ล" ในกรุง นิวเดลี อินเดีย หนึ่งในศาสนสถานที่มีผู้คนมาเยี่ยมเยือนมากที่สุดในอินเดีย
9.) Cube House (คิวบ์เฮาส์) บ้านทรงลูกบาศก์เชื่อมต่อกัน 38 หลังในนครร็อตเทอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ เกิดจากแนวคิดเวลามองหมู่แมกไม้ที่ตั้งตระหง่านอยู่ร่วมกัน
10.) Library of Alexandria (ไลบรารี่ ออฟ อเล็กซานเดรีย) ห้องสมุดเมืองอเล็กซานเดรีย อียิปต์ มีความสูง 11 ชั้น ลักษณะอาคารสื่อถึงภาพดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ เปรียบได้กับการเข้ามาแสวงหาเพิ่มพูนปัญญา ณ สถานที่แห่งนี้

การจำลองกาติดต้องแล้วการเพิ่มความสูงของทาวเวอร์เครน


Cubic Houses



บ้านลูกเต๋านี้ถือว่าคงเป็นสถาปัตยกรรมแปลกตาดีแท้ๆ ผู้ออกแบบตึกทรงประหลาดนี้ก็คือนาย Piet Blom ที่ได้ทำการออกแบบโดยมีไอเดียที่ต้องการสร้างบ้านให้เป็นลักษณะของป่าและออกแบบในเชิงลักษณะของ Abstract และที่ทำเอาฉันประหลาดใจในหนแรกที่มาเห็นตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ คือบ้านที่สร้างมาขำๆ นี้ เป็นบ้านที่อยู่อาศัยได้จริงๆ ด้วย มิใช่แต่เพียงนำมาโชว์เท่านั้น ส่วนลักษณะของภายในบ้านฉันเองยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปดู แต่คาดว่าเร็วๆ นี้น่าจะมีโอกาสได้เข้าไปดูด้านในว่าเป็นยังไง แต่งานนี้ต้องเสียเงิน 3 ยูโรซะก่อน ถึงจะขึ้นไปดูได้ เพราะส่วนกลางเค้าจัดให้มีห้องหนึ่งที่ถือว่าเป็นห้องสำหรับการเข้าไปเยี่ยมชม ซึ่งเมื่อก่อนนี้ต้องเข้าไปดูภายในบ้านของคนอยู่อาศัยจริง แต่เมื่อมีคนเข้าไปเยี่ยมชมมากเข้า เลยเป็นการรบกวนไป ทีนี้พอมีห้องว่างก็เลยจัดการทำเป็นห้องว่างและคนเข้ามาเยี่ยมชมได้เลย เพื่อนไกด์ของฉันบอกว่า เข้าไปข้างบน พื้นบ้านก็มีลักษณะธรรมดาแต่ว่าลักษณะตัวบ้าน มันก็เอียงจากปกติไปก็เท่านั้นเอง ... อือม์ แปลกดี


ชั้นสองก่อนจะขึ้นไปตัวบ้านแต่ละหลัง




ปิดท้ายการเดินคงไม่พ้นการเข้าไปนั่งกินอะไรนิดหน่อย พร้อมทั้งเดินช้อปปิ้งด้วยสายตา ... ช้อปปิ้งลักษณะนี้ก็ดีน๊า ได้ดูของงามๆ แต่ว่าไม่หมดเงิน ฮ่า ฮ่า .. แต่เหตุผลที่แท้จริงก็คือว่า ไม่มีบั๊ดเจ็ดสำหรับการซื้อของสำหรับเที่ยวเล็กๆ นี่อ่ะซี่ เรื่องของเรื่อง เลยไม่ได้ซื้ออะไรติดมือมาสักอย่าง เนนกิน และการเหล่หนุ่ม แค่นี้ก็สร้างความสุขเหลือร้ายได้เยอะเลยล่ะ ... 

การก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก

พรีคาสท์ คอนกรีต

วันนี้ ตั้งใจจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ ระบบพรีคาสท์คอนกรีต (Precast concrete) ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินการก่อสร้างระบบหนึ่ง ที่ปัจจุบันวงการก่อสร้างในบ้านเรา เริ่มนิยมใช้ ถามว่าทำไมเริ่มนิยมใช้ จริงๆ แล้วระบบพรีคาสท์ในบ้านเรามีการใช้มานานมาก แต่มีการเลือกนำไปใช้สำหรับการก่อสร้างบางอย่าง เช่น การก่อสร้างสะพาน ทางยกระดับหรือพวกทางด่วน นั่นเอง ส่วนงานด้านอาคาร บ้าน ห้องแถว ตึกแถวนั้น ก็ ยังไม่นิยมใช้งานกันมากนัก ก็จะมีเห็นบางชิ้นงาน นั่นก็คือ ชิ้นส่วนพื้นสำเร็จรูป แต่หากนับรวมองค์อาคารทั้งหมดแล้วยังน้อยมาก
ทำไมถึงต้องเรียกว่า พรีคาสท์ precast แน่นอนครับหลายๆ คน คงงง หรือยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร เป็นการทำบ้านหรืออาคารแบบของเล่นมาต่อๆกัน เหรอ แล้วคำว่า พรีแฟ็บ prefab มันต่างกันยังไวกับพรีคาสท์ ผมขอแยกหรืออธิบายให้ง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพให้ชัดเจนอย่างนี้นะครับ
คำว่า พรีคาสท์ มาจาก precast นั้นคือ pre+cast คำว่า pre นั่นคือ ก่อน ส่วนคำว่า cast แปลว่า การหล่อหรือการเทในแบบ นั้นเอง เมื่อสองคำมารวมกัน ก็สามารถแปลได้ว่า เป็นการหล่อหรือเทในแบบก่อนนำไปใช้งานหรือก่อนการประกอบ
เอาละครับแล้วมาถึง คำว่า พรีแฟ็บ prefab จริงแล้วน่าจะตัดมาสั้นๆนะครับคำเต็มๆ คือ prefabicate หรือ prefabication คือการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันก่อนนำไปติดตั้ง ส่วนมากก็มักนิยมใช้กับงานเหล็กที่ตัดเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาต่อกันเป็นรูปร่างที่ต้องการเป็นส่วนๆ แล้วค่อยนำไปประกอบเป็นงานองค์รวม ซึ่งเรื่องว่าการ installation หรือ erection แล้วแต่กรณีครับ
สำหรับงานก่อสร้างที่เลือกใช้ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ทำการหล่อเป็นชิ้นงาน แล้วมาประกอบติดตั้งเป็นโครงสร้างในหน่วยงานก่อสร้างนั้นเรามักเรียกว่า พรีคาสท์ precat contrete ครับ หรือเรียกว่า ชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งแแต่ละชิิ้นส่วนก็จะได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงแข็งแรง ตามหลักวิศวกรรม แตกต่างกันไปตามโครงสร้างอาคารและการทำหน้าที่ของแต่ละช้นส่วนขององค์อาคารนั้นๆ ครับ
แล้วเรามาว่ากันต่อ นะครับ ในส่่วนรายละเอียดของระบบพรีคาสท์ ครับ

วิธีการติดตั้้งผนังแบบ prefab

Pre-Casting Concrete

Pre-Casting Concrete work
สวัสดีครับ ก่อนที่ผมจะพูดเรื่อง pre-casting concrete ผมขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ pre-casting concrete ก่อนนะครับ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรคงไม่อธิบายลึกซึ้งมากนะครับ สำหรับ คำว่า “precast” คนไทยเรียก “พรีคาส” หรือ “พรีแคส” จะเรียกอย่างไรก็แล้วแ่ต่ เป็นการหล่อคอนกรีตชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารกับที่คือไม่ได้หล่อที่ตัวอาคารโครงสร้างแต่เราหล่อมันอยู่ข้างล่างหรือที่โรงงาน เพื่อจะทำการดึงเหล็กเส้นที่เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตก่อนที่จะมีการเทคอนกรีตนั่นเอง

เหล็กเสริมคอนกรีตนี้ตามปกติถ้าเป็นเหล็กโครงสร้างทั่วไปก็จะใช้เหล็กกลมหรือเหล็กข้ออ้อยมาตรฐาน

ใช้ขนาดเท่าไร จำนวนเท่าไร นี้ก็ขึ้นอยู่กับการคำนวณและวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานของผู้คำนวณแต่ละท่าน แต่สำหรับ pre-casting concrete นี้เหล็กเสริมหลักในคอนกรีตจะเปลี่ยนมาใช้เป็นลวดเหล็กอัดแรง pc wire หรือที่เรียกกันว่า”เหล็กเป็น”นั้นเอง มาต่อกันที่หลังจากเทคอนกรีตสำหรับทำ pre-casting concrete กันต่อนะครับ ในเมื่อคอนกรีตแข็งตัวสามารถรับกำลังได้แล้วจะทำการตัดลวดเหล็กอัดแรงที่ปลายชิ้นส่วนที่เราทำนี่เอง ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า pre-casting concrete นั่นเอง แปลตรงตัวเลย


ประโยชน์ของการทำ pre-casting concrete

ก็มีหลายข้อด้วยกันเช่น ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องทำแบบที่โครงสร้างอาคาร หล่อกับที่ข้างล่างสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายเรื่องนั่งร้าน ไม้แบบ แรงงาน เหล็กเส้น ติดตั้งง่าย เพราะเมื่อทำเสร็จก็เพียงแค่ยกขึ้นวางและเชื่อมแน่น ทำการเกร้าติ้งก็คือการเทคอนกรีตปิดรอยต่อของโครงอาคารให้เป็นเนื้อเดียวกันนั่นเอง จะเห็นว่าสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายประหยัดขึ้นมากและสามารถทำได้เกือบทุกชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารเริ่มตั้งแต่เหนือฐานรากขึ้นมาึ เช่น Column precast (เสาพรีคาส) Precast Ground beam (คานคอดิน) Slab precast (พื้น หรือแผ่นพื้นสำเร็จ) Stair precast (บันได) Wall precast (ผนัง) จนกระทั่งถึงคานรัดรอบเสารับหลังคาหรืออะเส (Roof beam precast) เรียกว่าทำชิ้นส่วน precast ได้หมดทั้งโครงสร้างอาคารหลักส่วนงาน finishing ตกแต่งก็เป็นเรื่องของความสวยงามของอาคารต่อไป

ดังนั้น ผู้รับเหมารุ่นใหม่ส่วนใหญ่หันใช้งาน pre-casting concrete กันมากขึ้นนั่นเอง คงพอเข้าใจคร่าวๆกันแล้ว(ดูจากรูปน่าจะเข้าใจมากกว่าผมอธิบายอีกนะครับเกี่ยวกับ precasting concrete)

วิธีเจาะเสาเข็ม

เพลงกุหลาบเวียบพิงค์

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณวิศวกรรม


กรณีศึกษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม

  ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้กำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังต่อไปนี้ 
     
  ๑. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ 
   
    บทบัญญัติในข้อนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะกว้างเพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรม หรือลักษณะการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี มีความภาคภูมิในในเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพของตนเอง
 
   
 
 
๒. ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ 
   บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร ต้องรับผิดชอบในผลการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและ วิชาการ โดยจะต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของงานวิศวกรรม และหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานสาขาต่างๆ เป็นต้น  
   
 
  ๓. ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 
   บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากเป็นกรณีที่มิใช่เรื่องเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ผู้ประกอบวิชาชีพได้กระทำการใดๆ อย่างไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น และไต่สวนแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง อาจลงโทษโดยไม่ใช้บทบัญญัตินี้ แต่ไปใช้บทบัญญัติตามข้อ ๑ คือกระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพแทนได้  
     
  ๔. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้อื่นในด้านต่างๆ ใช้อำนาจหน้าที่อันเป็นการ บีบบังคับ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับงาน หรือบังคับผู้อื่นไม่ให้งานนั้นแก่ฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งนี้งานนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และบุคคลทั่วไปหากต้องเสียประโยชน์จากการกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย สามารถร้องเรียนกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น เพื่อให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาความผิดทางจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพได้ 
     
  ๕. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเมื่อได้รับงานจากผู้ว่าจ้างแล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง เสมือนกับที่วิญญูชนทั่วไปพึงรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพในข้อนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผลประโยชน์อื่นที่มิควรได้ นอกจากค่าจ้างที่ได้รับทำงานให้กับผู้ว่าจ้าง เพราะหากปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เอารัดเอาเปรียบผู้ว่าจ้างแล้ว ความเสื่อมศรัทธาต่อบุคคลและสถาบันแห่งวิชาชีพจะเกิดขึ้น บทบัญญัติในข้อนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคคลทั่วไปด้วย 
     
  ๖. ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแข่งขันกันรับงานโดยการโฆษณา ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยก เนื่องจากการแย่งงานกันทำ และส่งผลให้เกิดการแตกความสามัคคีในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน 




 
  ๗. ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับงานโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมได้ อนึ่ง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะทำได้นั้น หมายถึงการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด และรวมถึงความสามารถที่ตนเองจะทำได้ตามความเป็นจริงด้วย 




 
  ๘. ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร 
   บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ เมื่อรับปฏิบัติงานแล้ว ต้องมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับทำ เพราะหากปล่อยให้มีการละทิ้งงาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้มีการประกอบวิชาชีพอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแห่งวงการวิชาชีพ  
     
  ๙. ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง 
   บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น หากไม่สามารถรับปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้แล้ว ก็ไม่ควรลงลายมือชื่อเป็นผู้รับทำงานนั้น เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ว่าจ้าง และบุคคลภายนอกได้ 
     
  ๑๐. ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองวงการของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลทั่วไป เนื่องจากหากบุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือผู้ประกอบวิชาชีพแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมศรัทธาต่อผู้ประกอบวิชาชีพและสถาบันแห่งวิชาชีพได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในฐานะที่รู้ความลับของ ผู้ว่าจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเอกสิทธิ์และหน้าที่ที่จะไม่เปิดเผยความลับนั้น ถ้าเปิดเผยความลับโดยประการ ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างก็ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ 
     
  ๑๑. ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี โดยมุ่งให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน 
     
  ๑๒. ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน  
     
  ๑๓. ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว 
     
  ๑๔. ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับรายการคำนวณอันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม 
     
  ๑๕. ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น 
   บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสามัคคีของกลุ่มผู้มีวิชาชีพเดียวกัน คือต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยไม่กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE COLUMNS)


น้ำหนักต่างๆ ในอาคารจะถ่ายมาลงเสาโดยเสาจะเป็นองค์อาคารที่รับน้ำหนักในแนวดิ่ง และในบางครั้งต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย เสาจะมีรูปแบบ และข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของเสา ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสา และลักษณะปลายยึดของหัวเสา 
ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ ลักษณะเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  • เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงตามแนวศูนย์กลางแกนเสา
  • เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงเยื้องศูนย์
2. แบ่งตามขนาดความสูงของเสา ลักษณะเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก แบ่งตามขนาดความสูงของเสา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
  • เสาสั้น คือ เสาที่มีอัตราส่วนความสูงต่อด้านแคบของเสา(เสาสี่เหลี่ยม) หรืออัตราส่วนความสูงต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเสา (เสากลม) น้อยกว่า 15
  • เสายาว คือ เสาที่มีอัตราส่วนความสูงต่อด้านแคบของเสา (เสาสี่เหลี่ยม) หรือ อัตราส่วนความสูงต่อเส้นผ่าศูนย์กลางเสา (เสากลม) มากกว่า 15  ซึ่งความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาจะลดลง


    ประเภทของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
    1. เสาปลอกเดี่ยว เป็นเสาคอนกรีตที่เสริมเหล็ก โดยมีเหล็กยืน (ตั้งในแนวดิ่ง) รัดด้วยเหล็กปลอก เป็นวงๆ  ซึ่งเหล็กปลอกที่รัดอาจจะมีวงเดียวหรือหลายวงก็ได้และการงอเหล็กปลอกจะงอเป็นฉาก
    2. เสาปลอกเกลียว เป็นเสาคอนกรีตที่เสริมเหล็ก โดยมีเหล็กยืน (ตั้งในแนวดิ่ง) รัดด้วยเหล็กปลอกที่เป็นเกลียวรัดต่อเนื่อง เสาประเภทนี้จะรับแรงได้ดีกว่า เสาปลอกเดี่ยวประมาณ 15% โดยปกติจะใช้กับ เสากลม หรือเสาหลายเหลี่ยม
    3. เสาปลอกเกลียวเสริมแกนเหล็ก จะมีลักษณะเหมือนกับเสาปลอกเกลียวธรรมดาแต่จะมีเหล็กรูปพรรณ เสริมอยู่ตรงแกนกลาง ส่วนใหญ่ใช้เหล็กรูปตัวไอ (I) หรือเหล็กรูปตัวเฮช (H) พื้นที่หน้าตัดของแกนเหล็กเมื่อเทียบกับพื้นที่หน้าตัดคอนกรีตจะไม่มากนัก โดยทั่วไปนิยมใช้กับเสาที่มีแป้นหูช้าง หรือใช้เมื่อต้องการลดขนาดเสาให้เข้ากับแบบสถาปัตยกรรม
    4. เสาเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีต คล้ายกับเสาปลอกเกลียวเสริมแกนเหล็ก แต่เหล็กที่ใช้ตรงแกน นิยมใช้เหล็กแผ่นหนาๆ นำมาตัดเชื่อมหรือย้ำหมุดให้ได้รูปหน้าตัดเป็นตัว “H” ขนาดใหญ่  และหุ้มด้วยตะแกรงเหล็กเบอร์ 10 AS&W Gage และมีคอนกรีตหุ้มไม่น้อยกว่า 6 ซม. เสาชนิดนี้นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการให้เสามีขนาดเล็ก แต่รับน้ำหนักได้มาก
    5. เสาคอนกรีตหุ้มด้วยท่อเหล็ก เป็นเสาที่มีเปลือกนอกเป็นเหล็ก ภายในเป็นคอนกรีต จะไม่มีการเสริมเหล็กเพิ่มภายใน เสาประเภทนี้จะรับน้ำหนักไม่มาก และตรงปลายเสาต้องใช้แผ่นเหล็กหนา 3/8 นิ้ว หรือประมาณ 10 มม. เชื่อมติดท่อเหล็กเพื่อช่วยในการกระจายน้ำหนัก